AwardHonorNewsScience

คว้ารางวัลเหรียญเงินในงาน 45th International Exhibition of Inventions of Geneva ณ สมาพันธรัฐสวิส

0

ผลงานวิจัย เรื่อง ต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ แบบทุ่นลอย-ระบบบำบัดชีวภาพประสิทธิภาพสูงระดับอุตสาหกรรม (Float Cathode Microbial Fuel Cell-Turbo Bio-Treatment Plant Prototype) ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชลทิศา สุขเกษม สังกัดคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ และได้รับรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ (45th International Exhibition of Inventions of Geneva) ซึ่งจัดขึ้น ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 2 เมษายน 2560 ซึ่งในปีนี้ผลงานของนักประดิษฐ์/นักวิจัยไทยยังสามารถคว้ารางวัลสูงสุดของงานคือ รางวัล Grand Prix (Grand Prix du Salon International des Inventions de Geneve) อีกด้วย จากผลงาน “การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างอัตโนมัติจากภาพถ่ายจอตาบนสมาร์ทโฟน” ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

งานวิจัย ต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์แบบทุ่นลอย-ระบบบำบัดชีวภาพประสิทธิภาพสูงระดับอุตสาหกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชลทิศา สุขเกษม และคณะ เป็นระบบที่อาศัยหลักการทางชีวเคมีไฟฟ้าในการบำบัดน้ำเสียและสารพิษในน้ำเสียได้อย่างสมบูรณ์ ภายในเวลาอันรวดเร็ว เร็วกว่าระบบหมักแบบไร้อากาศ 20 วัน ในขณะที่ต้นทุนการบำบัดใกล้เคียงกัน ใช้พื้นที่ในการบำบัดน้อยลง 10 เท่า สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้คุ้มค่ากว่า ติดตั้งง่าย ค่าบำรุงรักษาต่ำ ขยายขนาดได้ไม่จำกัด สามารถใช้งานร่วมกับระบบบำบัดต่างๆ ได้ทุกระบบโดยไม่ต้องดัดแปลงเทคโนโลยี

ระบบบำบัดโดยเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์นี้ คาดว่าจะสามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นต้นแบบในการบำบัดน้ำเสียจริงในระดับอุตสาหกรรมได้ โดยการสร้างเป็นหน่วยย่อยๆ ต่อกันเป็นลำดับ ทำให้สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียจริงต่อวันได้ ช่วยลดพื้นที่ในการเก็บกักน้ำเสียระหว่างการบำบัด ทำให้ใช้พื้นที่ในการบำบัดน้อย ระบบมีเสถียรภาพสูง ทำให้ต้นทุนการจัดการระบบต่ำ และอาจได้กระแสไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ อันเป็นแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ในการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอย่างจริงจัง ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติในระยะยาว และสามารถพัฒนาให้ผลิตกระแสไฟฟ้าศักย์ต่ำ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคตได้

“กรรมวิธีการผลิตน้ำมันจากไรแดง” ผลงานวิจัยได้รับการจดอนุสิทธิบัตร

Previous article

ปราชญ์แห่งศาสตร์โนรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.

More in Award