Health

เราจะลดความเสี่ยงจากการช๊อคหมดสติ แบบ คริสเตียน อีริคเซ่น ได้อย่างไร วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ มีคำตอบ

0

กรณี คริสเตียน อีริคเซ่น นักเตะชาวเดนมาร์ก ที่วูบหมดสติแบบทันทีทันใด (Collapse) ก่อนที่เกมส์ครึ่งแรกจะจบลงต่อหน้าสายตาคนทั่วโลกที่ดูการถ่ายทอดสดด้วยความห่วงใย ในการแข่งขันฟุตบอล URO 2020 แม็ทสำคัญระหว่างทีมเดนมาร์กกับทีมฟินแลนด์ ซึ่งในทาง Sport Cardiology ถือว่าการวูบแบบนี้เป็นเรื่องซีเรียสมากเพราะมันคือนาทีแห่งการสูญเสียชีวิตหรือการช่วยชีวิตที่สำคัญโดยแนวทางและขั้นตอนการช่วยชีวิตหรือการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นด้วยการทำ CPR หรือการปั้มมหัวใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในลักษณะนี้ และในประเด็นสำคัญนี้ อาจารย์ ดร. เพ็ญพักตร์ หนูผุด อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีคำตอบ

คริสเตียน อีริคเซ่น นักเตะชาวเดนมาร์ก / ภาพ ไทยรัฐ

เราจะลดความเสี่ยงจากการช๊อคหมดสติ แบบ คริสเตียน อีริคเซ่น ได้อย่างไร

  1. อย่าประมาท : ตรวจคัดกรองสุขภาพ ควรหมั่นสังเกตอาการ อย่าประมาทกับสัญญาณเตือนจากร่างกายและจิตใจแม้เพียงเล็กน้อย เช่นใจสั่น หัวใจเต้นแรงเร็วผิดปกติ ควรเรียนรู้วิธีรับมือและปรับตัว เช่น หยุดออกกำลังกายลดระดับความหนักลง หรือ นั่งพักหรือนอนตะแคงในท่าที่ผ่อนคลายหายใจสะดวก อย่าปล่อยจนอาการรุนแรงและยากเกินร่างกายจะทนไหว
  1. รู้จักประมาณตน : เล่นกีฬาและออกกำลังกายแต่พอเหมาะ ไม่หนักเกิน นานเกิน แรงเกิน เร็วเกิน บ่อยเกินที่ร่างกายจะทานทนต้องค่อยๆฝึกฝนจนร่างกายทนทานขึ้นเป็นลำดับแต่ไม่ใช่หักโหม
  1. ฝึกฝนตนเองให้พร้อมรับภาวะตึงเครียดหรือกดดันทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ แม้กระทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และโดยเฉพาะเกมส์การแข่งขันกีฬายิ่งรายการสำคัญ แมทสำคัญรอบรองนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ ยิ่งกดดันสูงส่งผลให้ร่างกายและจิตใจทนต่อภาวะกดดันและตึงเครียดไม่ไหวก็ต้องตอบสนองโดยสมองหยุดสั่งการและคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติส่งผลให้หัวใจต้องหยุดทำงานเพื่อให้ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหวคราวนี้เลยต้องพักทั้งร่างกายและจิตใจยาวเลย
  1. มีสติอยู่เสมอ : ต้องมีสติและปัญญาที่จะคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอ อย่าประมาท รู้จักประมาณตน ฝึกฝนตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์กดดันและตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจของตัวเองอยู่เสมอ หยุดอย่าฝืนจนร่างกายและจิตใจเกินทน เราก็จะปลอดภัย

เจ้าหน้าที่เร่งช่วยชีวิต “คริสเตียน อีริกเซน” แข้งเดนมาร์ก ทรุดคาสนามระหว่างเกมยูโร / ภาพ MRG Online


เราจะแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อเกิดเหตุแบบเดียวกันกับคริสเตียน อีริคเซ่น

ทางฟีฟ่าได้สร้างวาระสำคัญ โดยกำหนดว่าคนที่เกี่ยวข้องกับวงการฟุตบอล ต้องมีความรู้ในประเด็น “SCA”  ซึ่ง SCA ย่อจาก Sudden Cardiac Arrest แปลว่าหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยกระบวนการนี้ จะสอนคุณว่าถ้าหากนักฟุตบอลเกิดอาการหัวใจหยุดเต้น โดยไม่มีสัญญาณเตือนใดๆมาก่อนเลย คุณต้องทำอย่างไร ความรู้เรื่อง SCA เป็นพื้นฐานของผู้ตัดสินและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับฟีฟ่า หรือยูฟ่า หรือแม้แต่การจัดการแข่งขันในระดับอื่นๆก็ควรตระหนักและให้ความสำคัญในแนวทางปฏิบัตินี้พร้อมกับแนวทางการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพเบื้องต้นโดยการทำ CPR แบบเร่งด่วน 7 ขั้นตอน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในเรื่องนี้เช่นกันคือ

  1. ถ้านักเตะร่วงลงไปกับพื้นโดยไม่สัมผัสกับใคร ผู้ตัดสินต้องรีบเป่าสัญญาณนกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน และให้ทีมแพทย์วิ่งเข้าสนามให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจเช็คและช่วยปฐมพยาบาลควรทำในระยะเวลาอันสั้นที่สุด
  2. จับนักเตะประคองให้นอนหงายหน้า โดยให้ความระวังบริเวณส่วนคอและหลังเป็นกรณีพิเศษ
  3. ทำการเช็กปลุกกระตุ้นโดยการเรียกพร้อมตบเบาๆบริเวณบ่าหรือไหล่ว่านักเตะมีการตอบสนองหรือรู้สึกตัวหรือไม่พร้อม
  4. โทรแจ้งรถหน่วยฉุกเฉินให้มาที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
  5. ถ้าหากไม่มีเครื่อง AED หรือกำลังถูกนำมาจากที่อื่น ให้เริ่มกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นหรือทำ CPR ด้วยใช้มือกดบริเวณหน้าอกทันที เป็นจังหวะต่อเนื่องนับ 1 และ 2 และ 3 และ4 …20…และ 50…ไปเรื่อยๆอย่าหยุดเป็นอันขาด จนกว่านักเตะจะรู้สึกตัว

***ขั้นตอนที่ 1-5 เป็นขั้นตอนที่สำคัญควรทำในเวลาอันสั้นภายในเวลาไม่เกิน 1 นาทีได้จะดีที่สุดเพราะหากช้ากว่า3 นาทีหลังจากหัวใจหยุดเต้น อาจทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ทันก็จะส่งผลต่ออาการทางสมองร่วมด้วยยิ่งอันตรายต่อชีวิตและการทำงานของสมองแม้หัวใจจะกลับมาทำงานได้ในภายหลัง

  1. หากใช้เครื่องช่วยชีวิตอัตโนมัติ AED ที่ควรหรือต้องมีประจำในทุกสนามแข่งขัน รวมถึงสนามฝึกซ้อมก็จะช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนเลือดเพื่อฟื้นคืนชีพก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. รีบนำตัวนักเตะส่งโรงพยาบาลโดยรถฉุกเฉินที่มาพร้อมอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจและเครื่องปั้มหัวใจอัตโนมัติให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงมือแพทย์ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

***หมายเหตุในทุกรายการแข่งขันไม่ว่าจะสมัครเล่นหรืออาชีพทุกฝ่ายควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในลักษณะเดียวกับคริสเตียน อีริคเซ่น ในคนที่ออกกำลังภายใต้สภาวะกดดันตึงเครียด อากาศร้อนอบอ้าว หนาวจัดเย็นจัด ออกกำลังกายโดยไม่มีความพร้อมหรือไม่ฟิตพอกับกิจกรรมที่ทำโดยเฉพาะหนักเกิน แรงเกิน เร็วเกิน นานเกิน บ่อยเกินกำลังที่หัวใจหรือร่างกายจะรับได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอดังนั้นตัวนักกีฬาเองต้องพยายามสังเกตอาการของของตัวเองอย่าฝืน เช่นเมื่อมีอาการหัวใจเต้นเร็วแรงผิดปกติหน้ามืดวิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม อ่อนเพลียอย่างมากควรหยุดพัก

อย่าลืมว่าตอนซ้อมที่ว่าฟิตกับตอนแข่งในบรรยากาศความกดดันตึงเครียดการใช้ร่างกายและสภาพจิตใจของนักกีฬาต่างกันมากมายนักยากที่จะคาดเดา ดังนั้นคำว่าสภาพร่างกายและจิตใจเกินจะทานทนอะไรก็เกิดขึ้นได้ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่ร่างกายสนองตอบให้หัวใจหยุดเต้นและหมดสติในที่สุดเมื่อนักกีฬาไม่ยอมหยุดด้วยตัวเองในตอนที่มีสติดีอยู่

นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยการทำ CPR ให้มีเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่เพียงบุคลากรทางการแพทย์แต่รวมถึงบุคคลประชาชนทั่วไปก็ควรมความรู้และฝึกทักษะสำคัญนี้ไว้ รวมถึงการใช้เครื่องมือ AED หรือแม้กระทั่งเบอร์ติดต่อรถฉุกเฉินนั้นมีความจำเป็นกับทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมกับทุกสถานการชีวิตที่อาจเกิดกับใครก็ได้

ด้วยความปรารถนาดี จากใจอย่าลืมห่วงใยใส่ใจสุขภาพทุกคนผู้ที่รักการออกกำลังกายและเล่นกีฬาทุกท่านขอให้ใช้กีฬาและการออกกำลังกายเป็นสื่ออย่างปลอดภัยและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงไปด้วยกันนะคะ
……………….

อ.ดร.เพ็ญพักตร์ หนูผุด
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง

อ.ดร.เพ็ญพักตร์ หนูผุด

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง

 

ปิด โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยทักษิณ หลังรักษาผู้ป่วย COVID-19 หายเป็นปกติทุกคน

Previous article

นักวิจัย ม.ทักษิณ ศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ “พืชด่าง” สร้างรายได้ ผู้สนใจตอบความต้องการตลาด

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.