careRESEARCH

ม.ทักษิณ พัฒนาพลังงานชีวภาพทดแทนไบโอดีเซลและปิโตรเลี่ยม

0

การพัฒนาชีวเคมี ด้วยผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อยกระดับชีวิตของผู้คนระดับชุมชนในปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด  เนื่องจากความยุ่งยากด้านเทคนิค และปัญหาด้านเศรษฐศาสตร์  แต่บางพื้นที่ในชนบทยังคงมีศักยภาพด้านวัตถุดิบที่ดี  ทั้งจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร หรือจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเก็บเกี่ยวพืชผล

 

 

การพัฒนาด้านนี้ยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก ภายใต้ข้อจำกัดและโอกาสด้านวัตถุดิบนี้ยังมีนักคิด นักวิจัยที่ยังคงมุ่งมั่นทำงานอยู่อย่างมุมานะ  ล่าสุดพวกเขาพบวิธีการที่จะนำองค์ความรู้ด้านชีวเคมีมาผสมผสานรวมกับวัตถุดิบท้องถิ่นอันสอดรับงกับบริบทของชุมชน เพื่อเปลี่ยนของเสียเหลือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานชีวภาพที่มีชื่อเรียกทางสูตรเคมีว่า“พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต” และนอกจากนั้นยังอาจเป็นส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ได้ในอนาคต
—- รศ.ดร. กนกพร สังขรักษ์ เมธีวิจัยผู้ดูแลงานวิจัย ให้ข้อมูลเบื้องต้นถึงที่มาของปัญหา และแนวทางการทำงานการพัฒนา พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต —-

รองศาสตราจารย์ ดร. กนกพร สังขรักษ์ เมธีวิจัยผู้ดูแลงานวิจัย

— พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต ผ่านการศึกษาและทดลองอย่างเป็นระบบ จากสารตั้งต้นสู่ผลิตภัณฑ์พลังงานชีวภาพ ทั้งน้ำมันดีเซลชีวภาพ และ น้ำมันหล่อลื่นชีวภาพ นายโอภาส ชูนุตร นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกเขากำลังหมกมุ่นอยู่กับการพัฒนา หาช่องทางในการผลิตให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

นายโอภาส ชูนุตร นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

— พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต เป็นผลผลิตจากกระบวนการกินโดยมีจุลลินทรีย์บางสายพันธุ์ที่เขาคัดแยกด้วยมือ กินน้ำตาลที่หลงเหลือ  ปกติ พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต มีราคาสูงในท้องตลาด แต่การเตรียมได้เอง ก็พอเห็นช่องทางให้ชุมชนได้ร่วมพัฒนาและเป็นเจ้าของร่วม ซึ่งสามารถนำไปเปลี่ยนเป็น ชีวดีเซล หรืออาจเข้าสู่กระบวนการเพิ่มเติม และสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันหล่อลื่นชีวภาพได้อีกได้  ขณะนี้เบื้องต้นสามารถใช้ได้กับระบบไฮดรอลิก และนอกจากการเปลี่ยนอาหารจากน้ำเสียต่างๆ แล้ว พวกเขายังอยากทำให้มันใช้ได้กับยานยนต์ด้วย

ไม่ว่าระหว่างทางของการพัฒนาพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต หรือผลิตภัณฑ์พลังงานชีวภาพ จะเต็มไปด้วยความยากลำบากเพียงใด แต่ด้วยแรงงานและพลังทางความคิด นักวิจัย นักประดิษฐ์คิดค้นของมหาวิทยาลัยทักษิณก็กำลังก้าวไปทีละก้าว เพื่อเรียนรู้  ทดลอง และท้ายที่สุดความหวังในการถ่ายทอดและแบ่งปันองค์ความรู้เป็นอีกหนึ่งในการสร้างวิถีแห่งการพัฒนาสังคม ทั้งในบริบทชุมชน และเพิ่มหนทางในการพัฒนาชีวิตผู้คนร่วมไปกับมหาวิทยาลัยทักษิณที่ตั้งปณิธานเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมต่อไป

 

ม.ทักษิณ ร่วมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยในเขตการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย

Previous article

ดำรงค์ ชีวะสาโร ผู้ปลุก “การแทงหยวก” ลุ่มทะเลสาบสงขลาให้ตื่นมามีบทบาทกับชุมชน

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.

More in care