News

ม.ทักษิณ ปล่อยขบวนรถ Mobile Unit ด้วยแคมเปญ“ฉีดกันตะ..ได้มาหนุกกันหลาว” รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วพื้นที่พัทลุงและสงขลา

0

มหาวิทยาลัยทักษิณ ปล่อยขบวนรถ Mobile Unit รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  ด้วยแคมเปญ ฉีดกันตะ..ได้มาหนุกกันหลาว (Get the Vaccine to Save Lives) ในกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID (U2T – COVID WEEK) “ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิดที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจัดขึ้น ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลเพื่อหวังให้ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 100%

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 มหาวิทยาลัยทักษิณปล่อยขบวนรถ Mobile Unit รณรงค์การวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แคมเปญ “ฉีดกันตะ..ได้มาหนุกกันหลาว (Get the Vaccine to Save Lives” เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนพื้นที่ 61 ตำบล ในจังหวัดพัทลุง และ 4 ตำบลในอำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลาที่มหาวิทยาลัยทักษิณรับผิดชอบตามกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID (U2T – COVID WEEK) “ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด” ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครบ 100%  ทั้งนี้ยังให้นวัตกรชุมชนของมหาวิทยาลัยจำนวน 1,300 คน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น และภาคชุมชนจัดกิจกรรมเชิงรุกในตำบลเพื่อส่งเสริม สร้างความตระหนัก และมุ่งเน้นจัดกิจกรรมของโครงการ U2T ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยทุกกิจกรรมมหาวิทยาลัยได้กำชับให้นวัตกรชุมชนมุ่งเน้นการปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23–31 พฤษภาคม 2564 นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์. จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดเผยว่า โครงการนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมหลักใน 2 ลักษณะดังนี้

กิจกรรมแรก “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน” จะเป็นกิจกรรมเชิงรุกในพื้นที่ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ สำหรับรูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย STEP 1 การเคลียพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดเชื้อ ทำให้ตำบลของเราน่าอยู่มากขึ้น STEP 2 สร้าง SAFE ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด เป็นการเตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย ศึกษาคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข สำรวจและกำหนดบริเวณพื้นที่ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ออกแบบและเผยแพร่มาตรการการใช้สถานที่ร่วมกันอย่างปลอดภัยและการจัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19 โดยการจัดหาและบริการจัดหาอุปกรณ์ให้พอและพร้อมใช้งาน อาทิ หน้ากากอนามัย เจลสเปรย์แอลกอฮอล์ และอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

กิจกรรมที่สอง “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดโควิด” มุ่งเน้นการรณรงค์ให้เกิดการฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน

ทั้งนี้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับผิดชอบพื้นที่ 61 ตำบล ในจังหวัดพัทลุง และ 4 ตำบลในอำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลาเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ และเพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษามีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) รวมทั้งเกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจนต่อไป

ถ่ายทอดองค์ความรูู้เครื่องสำอางโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดสุนไพรยกระดับมาตรฐานการผลิตสร้างรายได้วิสาหกิจชุมชน

Previous article

ม.ทักษิณ เจ้าภาพจัดแข่งขันแฮกกะธอนระดับภูมิภาค ระดมความคิด “แนวทางแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ชิงเงินรางวัลรวม 250,000 บาท

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.

More in News