0

ผู้ประดิษฐ์ : อาจารย์ ดร.กฤษฎา พัชรสิทธิ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้ขอจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร : มหาวิทยาลัยทักษิณ
ยื่นขอรับความคุ้มครองเมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2558
ได้รับความคุ้มครอง วันที่ 19 เมษายน 2560

กระบวนการผลิตพอลิไวนิลคลอไรด์นาโนไฟเบอร์ที่มียางธรรมชาติทำหน้าที่เป็นตัวพลาสติไซเซอร์ ด้วยเทคนิค อิเล็กโทรสปินนิ่งมีส่วนประกอบหลัก คือ พอลิไวนิลคลอไรด์ ยางธรรมชาติ และตัวทำละลายไดเมทิลฟอร์มาไมด์ (DMF) ซึ่งมีขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมสารละลายพอลิไวนิลคลอไรด์กับสารละลายยางธรรมชาติ ที่ใช้ตัวทำละลาย ไดเมทิลฟอร์มาไมด์ (DMF) แล้วทำการผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทำการขึ้นรูปเป็นนาโนไฟเบอร์ ด้วยเทคนิค อิเล็กโทรสปินนิ่ง หลังจากนั้นจะได้ผืนเส้นใยลักษณะเป็นแผ่นเรียบที่เป็นแบบไม่ได้ทอ (Non – woven) ซึ่งนาโน ไฟเบอร์ที่ได้จะมีลักษณะมีรูพรุน มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงฉีกขาด โดยหากใช้พอลิไวนิลคลอไรด์เพียงอย่างเดียวจะได้นาโนไฟเบอร์ที่มีลักษณะแข็งเปราะซึ่งเป็นคุณสมบัติของพลาสติก แต่เมื่อผสมยางธรรมชาติเข้าไปเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวพลาสติไซเซอร์จะทำให้ได้แผ่นนาโนไฟเบอร์มีความอ่อน
นุ่ม ยืดหยุ่นมากขึ้น

นักกีฬาปันจักสีลัต ม.ทักษิณ ตัวแทนประเทศไทย คว้าเหรียญทองแดงระดับโลก

Previous article

เชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ผสมกะลาปาล์ม และกรรมวิธีการผลิต ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.

More in RESEARCH