RESEARCH

อาจารย์ ม.ทักษิณ เพาะขยายพันธุ์ปลาก้างพระร่วงสำเร็จ เตรียมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สร้างอาชีพส่งออกต่างประเทศ

0


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ศึกษาการเพาะพันธุ์ปลาก้างพระร่วงโดยวิธีการใช้ฮอร์โมนผสมเทียม ลูกปลาสามารถฟักออกมาเป็นตัว และอนุบาลจนเติบโตได้เป็นผลสำเร็จ  ภายในเวลา 2 เดือน พบว่าลูกปลาที่ฟักออกจากไข่สามารถเติบโตจนมีความยาวลำตัวถึง 3 เซนติเมตร  โดยลูกปลาก้างพระร่วงจากการผสมพันธุ์ชุดแรกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตในโครงการวิจัยเรื่อง การเพาะเลี้ยงปลาก้างพระร่วงในโรงเพาะฟักและการพัฒนาเป็นปลาสวยงามเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณกับเทศบาลตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยได้รับงบประมาณการวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
.
ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีลักษณะที่แปลก คือ มีลำตัวที่โปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “ปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก” ก็ว่าได้ และที่สำคัญคือเลี้ยงง่ายและราคาไม่แพงนัก สามารถพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติทางภาคใต้แถบจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา พบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 222 ต.บ้านพร้าว  อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93210 โทรศัพท์/แฟกซ์ (074) 609607 หรือติดต่อ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม โทร.084-7503986 ksuphada@yahoo.com , suphada.k@tsu.ac.th

อว.ส่วนหน้า มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เปิดโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

Previous article

โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยทักษิณเตรียมขยายเตียงเพิ่ม 150 เตียง หลังสถานการณ์โควิดในพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

Next article

You may also like

Comments

Comments are closed.

More in RESEARCH